ทางบริษัทได้ตระหนักถึงคุณภาพ และมาตรฐานของสินค้าอิฐมวลเบา ที่จะส่งมอบให้กับลูกค้าได้ใช้สินค้าที่มีมาตรฐานและคุณภาพการผลิตที่สูง โดยทำการผลิตในชั้นคุณภาพ G4 ซึ่งมีความแข็งแรงกว่า รับน้ำหนักได้ดีกว่า และลดการแตกหักเสียหายได้มากกว่า จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าที่ผ่านจากโรงงานทุกขนาดผลิตด้วยมาตรฐาน มอก.G4 ทุกก้อน
ตารางชั้นคุณภาพและชนิดของมาตรฐาน มอก.1505-2541
คอนกรีตมวลเบาแบ่งตามความต้านทานแรงอัดออกเป็น 4 ชั้นคุณภาพ และแบ่งตามความหนาแน่นเชิงปริมาตรออกเป็น 7 ชนิด โดยชั้นคุณภาพและชนิดของคอนกรีตมวลเบามีความสัมพันธ์กันตามตารางดังนี้
ชั้นคุณภาพ | ความต้านแรงอัด (นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร) | ชนิด | ความหนาแน่นเชิงปริมาตรเฉลี่ย (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เดซิเมตร) | |
ค่าเฉลี่ย | ค่าต่ำสุด | |||
G2 | 2.5 | 2.0 | 04 | 0.31 ถึง 0.40 |
05 | 0.41 ถึง 0.50 | |||
G4 | 5.0 | 4.0 | 06 | 0.51 ถึง 0.60 |
07 | 0.61 ถึง 0.70 | |||
08 | 0.71 ถึง 0.80 | |||
G6 | 7.5 | 6.0 | 07 | 0.61 ถึง 0.70 |
08 | 0.71 ถึง 0.80 | |||
G8 | 10.0 | 8.0 | 08 | 0.71 ถึง 0.80 |
09 | 0.81 ถึง 0.90 | |||
10 | 0.91 ถึง 1.00 |
ที่มา : มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมชิ้นส่วนคอนกรีตมวลเบาแบบมีฟองอากาศ-อบไอน้ำ มอก.1505-2541
ตารางเปรียบเทียบชั้นคุณภาพระหว่าง G2 กับ G4
คุณสมบัติทางกายภาพ | ชั้นคุณภาพ | หน่วย | |
G2 | G4 | ||
ค่าความหนาแน่นแห้ง | 310 - 500 | 510 - 800 | กก./ลบ.ม. |
ค่ากำลังรับแรงอัด | 25 | 50 | กก./ตร.ม. |
Modulus of Rupture | 8.5 - 10.5 | 10.5 - 13.5 | N/sq.mm. |
ค่าการรับแรงดึง | 8.5 - 10.5 | 10.5 - 13.5 | N/sq.mm. |
ค่าการยืดหยุ่น | 1,300 - 1,500 | 1,500 - 1,750 | N/sq.mm. |
ค่าการนำความร้อน | 0.098 | 0.088 | W/m.K |
ค่าการทนไฟ | 2 - 3 | 4 | ชั่วโมง |
อัตราการดูดกลืนน้ำ | 35 | 32 | เปอร์เซ็นต์ |
อัตราการกันเสียง | 38 | 41 | dB |
ตารางเปรียบเทียบคุณสมบัติของอิฐมวลเบา G2 เทียบกับ อิฐมวลเบา สมาร์ทบล็อค G4
คุณสมบัติ | ชั้นคุณภาพ | รายละเอียดเปรียบเทียบ | |
G2 | G4 | ||
1. ความหนาแน่น (Dry Density) (kg/m3) | <500 | >500 | G4 มีค่าความหนาแน่นที่มากกว่า ทำให้มีรูพรุนอากาศที่น้อยกว่า G2 จึงส่งผลต่อการตอก เจาะ ยึด แขวนสิ่งของทำได้ดีกว่า และมีปริมาณการแตกหักเสียหายที่น้อยกว่า |
2. น้ำหนักผนังความหนา 7.5 ซม. (รวมฉาบ) | 85 | 90 | G4 มีน้ำหนักที่มากกว่า G2 ในเชิงโครงสร้างไม่มีผลมากนัก เนื่องจากในการคำนวนการรับน้ำหนักโครงสร้างทางวิศวกรรมได้มีการเผื่อน้ำหนักไว้แล้ว |
3. ค่าการรับแรงอัด (Compressive Strength) (ksc.) | >25 | >50 | G4 มีค่าการรับแรงอัดที่สูงกว่า ทำให้มีความแข็งแรงที่มากกว่า และรับน้ำหนักได้ดีกว่า |
4. อัตราการทนไฟ (Fire Resistance Rating) | 2.3 | 4.0 | G4 สามารถทนไฟได้มากกว่า G2 |
5. อัตราการกันเสียง (Sound Resistance Rating) (dB) | 42 | 43 | G4 สามารถกันเสียงได้ดีกว่า G2 |
6. อัตราการดูดซึมน้ำ (Water Absorption) (%) | 35 | 32 | G4 มีค่าการดูดซึมน้ำน้อยกว่า G2 จากผลการทดสอบอิฐมวลเบาสมาร์ทบล็อค มีค่าการดูดซึมน้ำอยู่ที่ 32% ซึ่งน้อยกว่า G2 ที่ 35% |
7. ค่าการนำความร้อน (Thermal Conductivity) W/mK) | 0.124 | 0.088 | G4 มีค่าการนำความร้อนที่น้อยกว่า G2 ส่งผลให้ความร้อนจากภายนอกตัวอาคาร ที่จะส่งผ่านเข้าสู่ภายในตัวอาคารได้น้อยกว่า จึงช่วยลดการใช้พลังงานจากเครื่องปรับอากาศได้มากกว่า |